ดังนั้น ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องเขียนอำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน แต่คณะกรรมาธิการฯ ไม่ได้เสนอว่า จะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่พิจารณาคดีอะไรได้บ้าง ต้องให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาเอง ขณะเดียวกัน เรื่องคุณสมบัติของศาลรัฐธรรมนูญต้องเปิดกว้าง ให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมาจากผู้พิพากษา ผู้มีความรู้ด้านนิติศาสตร์ หรือรัฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว
วันที่ 8 ธ.ค. นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะคณะกรรมาธิการกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปช. กล่าวว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายฯ มีความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญมีจำนวน 9 คน แต่ลดวาระการดำรงตำแหน่ง จาก 9 ปี เหลือ 6 ปี เป็นได้แค่วาระเดียว เนื่องจากเห็นว่า ระยะเวลา 6 ปี เป็นเวลาที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
ส่วนที่มาของศาลรัฐธรรมนูญให้มาจากคณะกรรมการสรรหาชุดหนึ่ง ที่จะมีความหลากหลายจากภาคส่วนอื่นๆ มากขึ้น ไม่ใช่แค่ 7 อรหันต์เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมการสรรหาชุดนี้ จะพิจารณาคัดเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 2-3 เท่า หรือ 18-27 คน เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณากลั่นกรองให้เหลือ 9 คน ไม่ใช่ส่งมาเพื่อให้ ส.ว.ประทับตราให้ความเห็นชอบเพียงอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น เพราะ ส.ว.จะมีส่วนร่วมในการพิจารณมากขึ้น ไม่ใช่ตรายางเหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป
แหล่งที่มา : ไทยรัฐ
Source: สปช.เคาะให้ ศาล รธน. นั่งเก้าอี้ 6 ปี ทำหน้าที่ได้สมัยเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น