วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คสช. ไฟเขียว 1.6 แสนล. รื้อระบบไฟฟ้า ทดแทน 'แม่เมาะ'

EyWwB5WU57MYnKOuFBncl0lLRfiFV5hNcjoI5x7kf7dz1OlepBdhBLคสช. เห็นชอบปรับปรุงระบบไฟฟ้าทั้งระบบ วงเงิน 1.6 แสนล้านบาท ด้าน หน.คสช.ห่วงราคาสินค้าเกษตร ชมนักกีฬาวอลเลย์หญิง สร้างความสุข พร้อมปรับแก้อัตราภาษีในส่วนของอีโคคาร์

วันที่ 19 ส.ค. พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล้องcctv แถลงผลการประชุม คสช.เพื่อการบริหารราชการแผ่นดิน ครั้งที่ 11/2557 ว่า ในระหว่างการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของราคาสินค้าเกษตร

โดยได้ขอความร่วมมือจากพ่อค้าคนกลาง ให้เห็นใจเกษตรกร และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดหาแนวทางในการขายสินค้าของเกษตรกรโดย ตรง ไม่ต้องรอมาตรการของภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว ในส่วนการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ให้ทุกภาคส่วนหาแนวทางเพื่อให้การแก้ดำเนินการได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ รวมทั้งยังแสดงความเป็นห่วงเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ซึ่งราคาตกต่ำลง โดยกำชับให้ช่วยเหลือเรื่องการเสริมสินเชื่อแปรรูปและผลิต เพื่อบรรเทาปัญหาของเกษตรกร

นอกจากนี้ นพ.ยงยุทธ ยังได้กล่าวถึงการพิจารณาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานด้วยว่า ที่ประชุมได้อนุมัติงบประมาณเพื่อจัดสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 ซึ่งจะปลดการทำงานในวันที่ 31 ธ.ค.60 โดยเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน วงเงิน 36,811 ล้านบาท เบิกจ่ายงบลงทุน ประจำปีงบประมาณ 2557 วงเงิน 4,059 ล้านบาท ใช้เงินตราต่างประเทศ 26,247 ล้านบาท และเงินบาทไทย 10,564 ล้านบาท แผนการดำเนินการก่อสร้าง 48 เดือน ซึ่งทางหัวหน้า คสช.ให้ไปศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้รอบด้านก่อนที่จะเริ่มแผนงาน นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ขยายระบบส่งไฟฟ้าระยะที่ 12 วงเงิน 60,000 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ 14,500 ล้านบาท และเป็นค่าใช้จ่ายซื้ออุปกรณ์ในประเทศและก่อสร้าง 45,000 ล้านบาท ดำเนินการภายในระยะเวลา 7 ปี 3 เดือน (ม.ค.56 - มี.ค.63) ซึ่งจะเป็นการสร้างสายส่งและสถานีไฟฟ้าเพิ่ม รวมไปถึงอนุมัติงบประมาณ 63,200 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้ และเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกู้เงินสำหรับงานใน 17 โครงการ งบประมาณปี 2557 วงเงิน 8,839 ล้านบาทด้วย

"หัวหน้า คสช.ได้มอบนโยบายเรื่องการไฟฟ้าว่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และแก้ไขปัญหาไฟฟ้าตก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ที่เกิดปัญหาขึ้นบ่อยครั้งและสร้างความเดือดร้อนให้ แก่พี่น้องประชาชน" นพ.ยงยุทธ กล่าว

นพ.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า คสช.ยังอนุมัติแผนแก้ปัญหาขยะมูลฝอยทั่วประเทศ โดยจะเริ่มนำร่องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เทคโนโลยีแปลงขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงก่อนจะขยายไปยังพื้นที่อื่น พร้อมทั้งเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แก้ไขกฎหมายป้องกัน และปราบปรามการค้างาช้าง ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า หรือพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือไซเตส ให้แล้วเสร็จในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ก่อนจะรายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุมไซเตสรับทราบในปีหน้า

พ.อ.วินธัย กล่าวต่อว่า หัวหน้า คสช.ยังได้กำชับให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการสรรหาสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยไม่ต้องแบ่งแยก ผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก สปช.ต้องมีคุณสมบัติที่ตรงกับแต่ละด้านที่กำหนดไว้ เพื่อให้มีผลกับการปฏิรูปประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ขอให้ส่วนงานฝ่ายสังคม ได้มีการเตรียมความพร้อมในแง่ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายสังคม เช่น เรื่องของกฎหมาย และโครงสร้าง เพื่อเสนอต่อสภาปฏิรูปทันทีที่มีการดำเนินการคัดเลือก สปช.เสร็จสิ้นในเดือน ก.ย.นี้ โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้กำชับถึงความโปร่งใสในการสรรหา สปช. หากพบว่าจังหวัดใดล็อกตัวบุคคล ขอให้แจ้ง คสช.

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมศึกษารายละเอียดโครงการพัฒนาโครงข่ายขนส่ง คมนาคมทางรถไฟ ที่เชื่อว่าจะสามารถส่งเสริมการลงทุนและเศรษฐกิจของประเทศได้ ขณะเดียวกัน มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม จัดทำภาพยนตร์เพื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว และส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ ทั้งยังได้แสดงความชื่นชม และให้กำลังใจนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่ทำให้คนไทยมีความสุข

นพ.ยงยุทธ มัยลาภ ทีมโฆษก คสช.แถลงผลการประชุม คสช.ในส่วนของมาตรการส่งเสริมการผลิตรถอีโคคาร์ในไทยว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง ถึงการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 81 และ 109 เพื่อส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ ในระยะที่ 2 ซึ่งในประกาศฉบับที่ 81 จะแก้ไขมาตรฐานมลพิษจากยูโร 4 เป็นยูโร 5 อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เดิมอยู่ที่ 120 กรัม ต่อกิโลเมตร เป็น 100 กรัมต่อกิโลเมตร อัตราใช้พลังงานเชื้อเพลิง 5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร เป็น 4.3 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร และกำหนดขนาดเครื่องเบนซิน เป็น 1300 ซีซี ดีเซล เป็น 1500 ซีซี และ E85 และ B10 ขณะที่ยังคงอัตราภาษีเดิม คือ ร้อยละ 17 สำหรับประกาศฉบับที่ 109 มีเนื้อหาปรับแก้อัตราภาษีในส่วนของอีโคคาร์ เครื่องยนต์ดีเซล จาก 1400 ซีซี เป็น 1500 ซีซี ที่ร้อยละ 14 และ E85 และ B10 อยู่ที่ร้อยละ 12

ข่าว:thairath.co.th

Source: คสช. ไฟเขียว 1.6 แสนล. รื้อระบบไฟฟ้า ทดแทน 'แม่เมาะ'

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น