ส่วน Michael Liebreich ผู้ก่อตั้งกองทุนBloomberg เพื่อพลังงานใหม่ กล่าวว่าในปัจจุบันมาถึงห้วงเวลาของวิกฤติโลกแล้วเพราะมนุษย์ได้ใช้ทรัพยากร อย่างสิ้นเปลืองรวมทั้งเรื่องพลังงานซึ่งแน่นอนว่าหลีกเลี่ยงพลังงานสิ้น เปลืองไม่ได้แต่ต้องผสมผสานในสัดส่วนของการให้ความสำคัญต่อพลังงานหมุนเวียน ให้มากขึ้น ยกเว้นน้ำที่อาจทำได้ยากแล้วเนื่องจากต้องทำลายป่าไม้เพื่อแลกกับการใช้ ประโยชน์ จึงขอให้ดูต้นแบบที่ดีคือเยอรมันที่ใช้กลไกต่างๆจนประสบความสำเร็จในกานนำ แสงอาทิตย์ ลม มาผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สำเร็จ ทั้งๆที่สามารถใช้นิวเคลียร์ก็ได้ ถ่านหินก็ได้เพราะคนเยอรมันหัวดีมีวิศวกรเก่งๆมากแต่เพราะเขาคำนึงถึง มนุษยชาติของเขาเป็นสำคัญจนทำให้ประสบความสำเร็จในการเพิ่มสัดส่วนพลังงาน หมุนเวียนได้สูงมากขึ้นตลอดเวลาจนอนาคตน่าจะสูงถึง80%ของทั้งหมด
Dr.Giulio Boccatelli เป็นBenddito Barga ประธานสถาบันน้ำโลก กล่าวว่าน้ำเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดพลังงานที่ดี ยกตัวอย่างประเทศบราซิลที่สามารถใช้การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมแล้วยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชวิตอีก ด้วย นายLeonardo Beltran ที่ผ่านมาเม็กซิโก ใช้พลังงานสิ้นเปลืองที่ก่อให้เกิดมลพิษมาก รัฐบาลมองเห็นปัญหาจึงได้พวายามส่งเสริมพลังงานที่ผสมผสาน โดยเฉพาะพลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเม็กซิโกDr.Ram Sharan Mahat รมต.คลัง ของเนปาล กล่าวว่าเนปาลมีที่ตั้งล้อมรอบด้วยเทือกเขาหิมาลัย มีมวลน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวเบงกอลจำนวนมากทุกๆปี จึงตั้งเป้าที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศไว้ ที่3000เมกกะวัต โดยต้องขยายการปักเสาพาดสายไปยังชุมชนอีกมากถึง70%ของพื้นที่เพื่อให้ไฟฟ้า เข้าถึงผู้ยากไร้ในเนปาล อย่างไรก็ดีรัฐบาลจะส่งเสริมการพัฒนาควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีที่ สุด
น.ส.วันดี ได้กล่าวขอบคุณ world bank และ IFCที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ซึ่งสามารถเลือกพัฒนาได้ตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศผสมผสานกันไป ส่วนตัวนั้นประสบความสำเร็จในการพัฒนา solar farm เป็นคนแรกได้เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาจากคนเกษียณจากการทำงานแล้ว เพราะมีแรงบันดาลใจจากการที่รัฐบาลในอดีตประกาศเป็นนโยบายสนับสนุนให้ภาค เอกชนมาลงทุนพัฒนาหมุนเวียนรูปแบบต่างๆ จึงตัดสินใจกลับมาทำงานใหม่อีกครั้งตามแรงบันดาลใจดังกล่าว โดยเลือกการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมกับไทยมากที่สุด แต่กว่าจะสำเร็จในโครงการแรกเมื่อ 5 ปีที่แล้วได้นั้นยากเย็นมาก เพราะไม่มีธนาคารใดๆในไทยให้กู้ยืมเพื่อการนี้เลย ยกเว้นธนาครกสิกรไทย แต่ภายใต้เงื่อนไขต้องได้รับการสนับสนุนจาก world bank โดย IFC ด้วย ตนจึงได้ขอรับการสนับสนุนจาก IFC จึงอาจกล่าวได้ว่า ifc เป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานให้ไทยและโลก เพราะหลังจากโครงกาารที่ 1 ประสบความสำเร็จทำให้การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เติบโตอย่าง รวดเร็วทั้งในไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเซีย
โดยส่วนตัวดีใจและมั่นใจว่าการที่ world bank ตั้งเป้าที่จะขจัดความยากจนด้วยการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในโลกให้มากเป็น สองเท่านั้นสำเร็จได้อย่างยั่งยืน รัฐบาลของประเทศต่างๆต้องจริงใจในการส่งเสริม และต้องยืนหยัดอยู่กับคุณภาพที่ดี เช่น ใช้วัสดุอุปกรณณ์ที่ดี โดยสามารถเรียนรู้จากประเทศญี่ปุ่นและเยอรมันได้ในการให้ความสำคัญต่อ พลังงานหมุนเวียน และการตระหนักถึงอันตรายจากนิวเคลียร์ ท้ายที่สุดการบริหารจัดการที่ดีด้านพลังงานจะเป็นอีกปัจจัยแห่งความมั่นคง ด้านพลังงาน ในส่วนประเทศไทยขณะนี้ได้พัฒนาจาก 5 ปีที่ผ่านมาจาการอุดหนุนสู่การพึ่งตนเองคือประชาชนที่มีความรู้ได้ติดตั้ง ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เองหรือเรียกว่าsolar roof top พร้อมกันนี้เชื่อมั่นว่าแนวทางการพัฒนาการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ในชนบท และเป็นพลังงานที่ยั่งยืนและมั่นคงแก่ประเทศในอนาคต
ทั้งนี้ น.ส.วันดี กุญชรยาคง ผู้ก่อตั้ง บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG ปัจจุบันได้ลงทุนและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) เสร็จสิ้นครบแล้ว จำนวน 36 โครงการ รวมกำลังผลิตกว่า 260 Mw. ใน 10 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง (ลพบุรี) บนเนื้อที่รวมกว่า 5,000 ไร่ มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 25,000 ล้านบาท สามารถจำหน่ายไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยโครงการแรกสำเร็จเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2553 และทำสำเร็จครบทุกโครงการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา
คืนวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา (เวลาในไทย 01.00 วันที่ 11 ต.ค.) ที่สำนักงานธนาคารโลก กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการเปิดประชุมใหญ่ ประจำปี 2014 โดย นายจิม ยอง คิม (jim yong kim) ประธานธนาคารโลก เป็นประธานในพิธีเปิดประชุม โดยกล่าวว่า พลังงานไฟฟ้าถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน คนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในทั่วโลกนี้มีอยู่มาก ทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาชีวิตในทุกด้าน ธนาคารโลกเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมจึงให้การสนับสนุนการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทุก ด้าน คือ แสงอาทิตย์ น้ำ ลม ให้ได้มีการพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต ในการขจัดความยากจนแก่มวลมนุษยชาติ และที่สำคัญเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่โลกของเรา
นอกจากนี้ที่ประชุมใหญ่ได้จัดให้มีการอภิปรายในเรื่อง “ทำอย่างไรเราจะเพิ่มพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้นเป็น 2 เท่าในปี 2030” โดย world bank ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องจำนวน 7 คนมาแสดงวิสัยทัศน์ โดยผู้ดำเนินการอภิปราย คือ Ed Crooks บรรณาธิการด้านอุตสาหกรรมและพลังงาน ของนิตยสาร Financial Time
โดยผู้อภิปรายหลักประกอบไปด้วย Giulio Boccaletti,Global Managing Director for Water,The Nature Conservancy. Benedito Braga,President,The World Water Council. Michael Liebreich,Founder,Bloomberg New Energy Finance และที่สำคัญมีหญิงไทยหนึ่งเดียวของเวทีนี้ที่ได้รับเกียรติจากธนาคารโลก คือ น.ส.วันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท SPCG เป็นผู้บุกเบิกการสร้าง solar farm หรือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เชิงพาณิชย์คนแรกของประเทศไทยและอา เซียน
แหล่งที่มา : ข่าวสด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น