วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

มช.คิดค้นระบบดูแลพื้นที่ปลูกข้าวไทย

910364ด้านนายเฉลิมพล สำราญพงษ์ นักวิจัยศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สำหรับระบบสารสนเทศที่ใช้นั้น ได้ตั้งชื่อว่า"เขตข้าวไทย" ซึ่งมีนักวิจัยที่ดูแลระบบร่วมกันอีก 2 คนคือ นายเทวินทร์ แก้วเมืองมูล และดร.อรรถชัย จินตะเวช รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการร่วมพัฒนาสังคมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และกิจการพิเศษ คณะเกษตรศาสตร์ มช.ซึ่งระบบสารสนเทศนี้จะเป็นระบบที่ดูแลเรื่องของการปลูกข้าวทั้งประเทศไม่ว่าจะเป็นการกระจายตัวของพันธุ์ข้าวต่างๆ เช่น พันธุ์ข้าวหอมอยู่ที่ไหน พันธุ์ข้าวขาวอยู่ที่ไหน ข้าวเหนียวอยู่ส่วนไหน และข้าวที่มีมูลค่าทางการเกษตรสูงอยู่ที่ไหนเราก็จะใช้ข้อมูลระบบข้าวที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยนำข้อมูลมาจากกรมวิชาการเกษตรกรมพัฒนาที่ดิน และข้อมูลผลผลิตข้าวจากการแนะนำของนักวิชาการจากกรมการข้าวแล้วนำข้อมูลมารวบรวมแบ่งออกเป็นส่วน ว่าจุดไหนเหมาะสมกับการปลูกมาก ปลูกปานกลาง ปลูกน้อย รวมถึงไม่เหมาะแก่การปลูกเลย ซึ่งหากพื้นที่ไหนเหมาะสมแล้วก็ต้องต่อยอดว่า จะเพิ่มมูลค่าของข้าวในจุดนั้นอย่างไร หากไม่เหมาะสมแล้วควรจะเข้าไปแก้ไขอย่างไร หรือแนะนำให้เกษตรกรปลูกอะไรให้ได้ผลผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่โดยจะนำเทคนิควิธีการจากนักวิชาการจากกรมการข้าว เข้ามาช่วยเหลือแนะนำเกษตรกรในพื้นที่ สำหรับในอนาคตก็จะมีการพัฒนาข้อมูลให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เกษตรกร รวมถึงนักวิชาการได้ทราบข้อมูลเรื่องของจำนวนพื้นที่ปลูกข้าวแหล่งปลูกข้าวแต่ละสายพันธุ์ พื้นที่เหมาะสมทางด้านการเกษตรจากนั้นแต่ละหน่วยงานก็จะได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบันซึ่งผู้สนใจอยากเข้าไปดูข้อมูลก็ว่าพื้นที่ของตนเองเหมาะสมหรือไม่ก็สามารถเข้าไปชมได้ที่ www.ricethailand.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 053 - 221275 ต่อ 234 ในวัน และเวลาราชการ.เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 16 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้คิดค้นระบบการระบุพื้นที่การปลูกข้าว เพื่อตรวจสอบว่าพื้นที่ไหนควรปลูกหรือไม่ควรปลูก โดยนำเทคโนโลยีจีพีเอสมาปรับใช้ในการตรวจสอบข้าวทั้งประเทศเป็นแห่งแรก โดยศ.สัญชัย จตุรสิทธา รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การใช้พื้นที่ในการปลูกข้าวของไทยยังมีปัญหาอีกมาก ทั้งการจัดโซนนิ่งทำการเกษตรที่จะระบุว่าพื้นที่ไหนเหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร เพราะบางพื้นที่ไม่เหมาะแก่การปลูกเลย ตอนนี้ทางคณะเกษตรศาสตร์ก็ได้รับงบประมาณมาในการจัดการด้านสารสนเทศ ดูแลระบบให้มองเห็นพื้นที่การปลูกที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว โดยได้รับความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ข้อมูลผลผลิตข้าวที่ครัวเรือนได้รับจากการใช้เทคโนโลยีกรมการข้าว ข้อมูลความเหมาะสมการใช้ที่ดิน และข้อมูลเขตเกษตรเศรษฐกิจข้าว โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดเก็บเป็นระบบสารสนเทศ พร้อมนำมาใช้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยการนำระบบสัญญาณจีพีเอส และเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และถือว่าเป็นแห่งแรกของประเทศที่ได้มีการจัดทำระบบนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ข้าวไทยมีคุณภาพดีขึ้นในอนาคต

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: มช.คิดค้นระบบดูแลพื้นที่ปลูกข้าวไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น