วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เมื่อนายกฯอินเดียเมินสื่อหลัก

gibbcbj6ib8bb9bacb55eแต่สำหรับนายโมดี มีความไม่ไว้ใจสื่อหลักและตัดช่องทางเข้าถึงอย่างปรากฏชัด ผู้สื่อข่าวในกรุงนิวเดลีเผยว่า พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้บินเครื่องบินลำเดียวกับนายกรัฐมนตรี ขณะที่การประชุมแถลงข่าวและเปิดโอกาสให้ซักถาม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยมากนิลันจัน มูโคปัทติยา ผู้เขียนหนังสือชีวประวัติ "Narendra Modi: The Man The Times" กล่าวว่า สมัยเป็นมุขมนตรีรัฐคุชราต ในปี 2545 เกิดเหตุรุนแรงระหว่างชาวฮินดูกับมุสลิม มีผู้เสียชีวิตจากถูกสังหารหมู่เกือบพันคน สื่อกล่าวโทษมุขมนตรีโมดี ว่าไม่ได้พยายามมากพอระงับเหตุ แม้ผลสอบสวนไม่พบการกระทำผิดใดๆ แต่ก็กลายเป็นตราบาปมาจนถึงปัจจุบัน นายโมดีจึงหลีกเลี่ยงสื่อหลัก และสร้างช่องทางอื่นสื่อสารกับประชาชน ผู้นำอินเดียมองว่าสื่อแค่รับข่าวสารจากตัวเขาและนำไปเผยแพร่ก็พอ หรือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่นำไปใช้โปรโมทตนเอง ไม่ใช่กลไกตรวจสอบผู้นำด้วยเหตุที่องค์กรสื่อส่วนมากในอินเดียเป็นของบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องพึ่งพา สายสัมพันธ์อันดีกับการเมือง จึงไม่ปรากฏเสียงโวยดังนัก

อาราตี ราธิกา เจรัท นักวิจารณ์การเมืองในอินเดีย กล่าวว่า สื่อเป็นเสาหนึ่งของประชาธิปไตย เป็นสะพานเชื่อมรัฐบาลกับประชาชน นักข่าวเคยมีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงการทุจริตในอินเดีย ประเทศประชาธิปไตยใหญ่สุดในโลก ไม่ถูกต้องนักที่นายกรัฐมนตรีจะกันระยะห่างกับสื่ออยู่ตลอดเวลา แต่ก็เชื่อว่า สื่ออินเดียจะไม่ถอดใจ อดีตมีบทเรียนมาแล้วว่า สื่อยกระดับภาพลักษณ์คนคนหนึ่งได้ และก็ทำให้ดับอย่างรวดเร็วได้สิ่งหนึ่งที่นักการเมืองในประเทศประชาธิปไตยต้องเผชิญยากหลีกพ้นคือ การตอบคำถามของสื่อ แต่ไม่น่าเชื่อว่าตั้งแต่รับตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม นายกรัฐมนตรีคนดังอย่างนายนเรนทรา โมดี ไม่เคยต้องตอบคำถามนักข่าว ไม่เคยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สถานีโทรทัศน์ หรือสถานีวิทยุแม้แต่รายเดียว แต่เลือกใช้ช่องทางใหม่ในการบอกกล่าวประชาชนอย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เขียนบล็อกและการพูดในที่สาธารณะ ยังไม่นับรวมรายการวิทยุประจำสัปดาห์ และปรากฏตัวในชุดเนี้ยบดีไซน์มาเฉพาะ สำหรับถ่ายรูปและคลิปนายโมดี มีเพื่อนบนเฟซบุ๊ก 23 ล้านคน และมีผู้ติดตามทวิตเตอร์เกือบ 10 ล้านเป็นรองแค่ประธานาธิบดีบารัก โอบามาแห่งสหรัฐการใช้สื่อใหม่เลี่ยงสื่อเก่าเข้าถึงผู้สนับสนุนโดยตรง จะมองเป็นยุทธศาสตร์ก็ย่อมได้ ประชากรออนไลน์ของอินเดียมีมากถึง 200 ล้านคน ส่วนมากเป็นคนรุ่นใหม่และคนเมือง ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองทุกพรรค

แหล่งที่มา  :  ข่าวสด

Source: เมื่อนายกฯอินเดียเมินสื่อหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น